ข่าวดีของคนอยากมีบ้าน มาตรการ LTV ใหม่กู้ได้มากกว่าเดิม!
ข่าวดีของคนอยากมีบ้าน มาตรการ LTV ใหม่กู้ได้มากกว่าเดิม!

เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2563 ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศปรับเกณฑ์ LTVซึ่งเป็นเกณฑ์สำคัญที่ธนาคารพาณิชย์ใช้ในการปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยอีกครั้ง หลังจากที่เคยประกาศไปครั้งก่อนเมื่อเดือนเมษายน 2562 ทำให้ผู้ที่กำลังจะซื้อที่อยู่อาสัยตื่นตัวกับมาตรการนี้
LTV ใหม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง และมีผลอย่างไรต่อผู้ที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัย เรามาทำความเข้าใจกันจากบทความนี้เลย
LTV คืออะไร?
LTV หรือ Loan-to-value ratio คืออัตราส่วนสินเชื่อต่อราคาบ้าน การคำนวณ LTV ของที่อยู่อาศัยที่ต้องการขอสินเชื่อจะทำให้เราสามารถคาดการณ์วงเงินการกู้เงินซื้อที่อยู่อาศัยและจำนวนเงินดาวน์เบื้องต้น โดยการคำนวณอย่างง่ายมีดังนี้

สูตรการคำนวณ LTV เบื้องต้นคือ การนำจำนวนเงินกู้ส่วนมูลค่าของบ้าน คูณด้วย 100 เราจะลองนำสูตรคำนวร LTV มาคำนวณหาวงเงินกู้ซื้อบ้านและเงินดาวน์ จากตัวอย่างการคำนวณ LTV บ้านราคา 3 ล้านบาท กำหนดให้ LTV = 90% เราสามารถคำนวณวงเงินกู้ที่ธนาคารอนุมัติได้ตาม Step 1 และเงินดาวน์ได้ตาม Step 2

จากตัวอย่าง บ้านมูลค่า 3 ล้านบาท LTV = 90% จะสามารถขอกู้เงินจากธนาคารในวงเงินอนุมัติที่ 2 ล้าน 7 แสนบาท

ในการคำนวณหาจำนวนเงินดาวน์ เราสามารถคำนวณได้ถึง 2 วิธี โดยวิธีที่หนึ่งคือการนำมูลค่าของบ้านมาลบกับจำนวนวงเงินอนุมัติ หรือ วิธีที่สองโดยการนำมูลค่าของบ้านมาคำนวณหาเงินดาวน์จากอัตราเงินดาวน์ (%) จากตัวอย่างข้างต้น บ้านมูลค่า 3 ล้านบาท จะต้องวางเงินดาวน์ 3 แสนบาท
ทำไมต้องมีการปรับ LTV อีกครั้ง?
การประกาศปรับหลักเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หรือ LTV มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเป็นเจ้าของบ้านหลังแรกได้ง่ายขึ้น และยังช่วยบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายจำเป็นในการเข้าเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัย โดยการสนับสนุนให้สถาบันการเงินปล่อยเงินกู้ ทั้งยังช่วยให้ประชาชนที่ต้องการมีบ้านหลังสองที่มีวินัยในการผ่อนชำระมาระยะหนึ่งแล้วเข้าถึงสินเชื่อบ้านได้มากกว่าเดิม
LTV ใหม่ปรับเปลี่ยนอะไรบ้าง?
ภายใต้มาตรการ LTV ใหม่นี้ยังมีการควบคุมเงินดาวน์ขั้นต่ำอยู่ แต่มีการผ่อนมาตรการลงและเพิ่มการขอสินเชื่อเพิ่มเติมให้กับผู้ซื้อบ้านหลังแรก โดยเฉพาะบ้านที่มีราคาต่ำกว่า10ล้านบาท โดยสรุปได้ดังนี้

บ้านหลังแรก
- ผู้ที่ซื้อบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 10 ล้านบาท สามารถกู้ได้เต็มจำนวนเช่นเดิม ไม่ต้องวางเงินดาวน์
นอกจากนี้ สำหรับกลุ่มที่ซื้อบ้านหลังแรกจะสามารถกู้เพิ่มได้อีก 10% ของราคาบ้านสำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการเข้าอยู่อาศัยจริง เช่น ซื้อเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้าน หรือซ่อมแซมต่อเติมบ้าน
บ้านหลังที่ 2
สำหรับการซื้อบ้านหลังที่สอง ยังคงมีการวางวางเงินดาวน์ตามหลักเกณฑ์การควบคุมสินเชื่อที่อยู่อาศัย แต่มีการผ่อนเกณฑ์ลง ดังนี้
- ในกรณีที่ผ่อนชำระสินเชื่อของที่อยู่อาศัยสัญญาแรกมาแล้วเกิน 2 ปี ให้วางเงินดาวน์ขั้นต่ำสำหรับบ้านหลังที่สองเพียง 10% (กู้ได้ 90%) จากเดิมที่กำหนดระยะเวลาการผ่อนไว้มากกว่า 3 ปี
- ในกรณีที่ผ่อนชำระสินเชื่อของที่อยู่อาศัยสัญญาแรกน้อยกว่า 2 ปี ให้วางเงินดาวน์ 20% (กู้ได้ 80%) จากเดิมที่กำหนดระยะเวลาการผ่อนไว้ถึง 3 ปี
จากตัวอย่าง หากนายA ผ่อนบ้านหลังแรกไปแล้วเกิน 2 ปี และอยากซื้อบ้านหลังที่2 มูลค่า 3 ล้านบาท ต้องวางเงินดาวน์ 10% คือ 300,000 บาท และสามารถกู้ธนาคารได้ 2,700,000 บาท แต่หากนายA ยังผ่อนบ้านหลังแรกได้ไม่ถึง 2 ปี จะต้องวางเงินดาวน์เพื่อซื้อบ้านหลังที่ 2 ทั้งหมด 20% คือ 600,000 บาท และกู้ธนาคารเพิ่มอีก 2,400,000 บาทนั่นเอง
บ้านหลังที่ 3 หรือ มากกว่า
สินเชื่อการกู้เพื่อซื้อบ้านหลังที่สามขึ้นไป ให้วางเงินดาวน์ 30% ของราคาเช่นเดิม
การกู้ร่วม
สำหรับกรณีของการกู้ร่วม หากผู้กู้ร่วมไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย จะยังไม่นับสัญญานั้นว่าเป็นสัญญาของผู้กู้ร่วม

เช่น A และ B กู้ซื้อบ้านร่วมกัน แต่ A มีกรรมสิทธิ์ในบ้านหลังนั้นแต่เพียงผู้เดียว กรณีนี้จะไม่นับว่าเป็นสัญญากู้ของ B ต่อมาหาก B ไปกู้ซื้อบ้านเองคนเดียวจึงจะนับสัญญาใหม่นี้เป็นสัญญาแรกของ B
LTV ใหม่นี้มีผลบังคับใช้ทันทีตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2563 ดังนั้นช่วงนี้จึงเป็นโอกาสทองของคนอยากซื้อบ้านหลังแรก และผู้ที่กำลังสนใจซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน เพื่อขานรับนโยบายของภาครัฐและสนับสนุนผู้ที่ต้องการซื้อบ้านหลังแรกหรือกำลังมองหาที่อยู่อาศัยคุณภาพ โครงการ เทวี โฮม บ้านฉาง-หาดพลา มีโปรโมชั่นสุดพิเศษ มาช่วยบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายในการซื้อบ้าน สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร 066-080-4342 หรือ 066-080-4347